ชาอินเดีย India Tea

 

ชาอินเดียร้อนๆจ้า 6 รูปี /2.50 บาท

ชาร้อนๆ ชงใส่ถ้วยดินเผา ดื่มเสร็จปาถ้วยทิ้งได้เลย สาเหตุที่ใส่ถ้วยดินเผา เพราะว่า.. คนอินเดียต้องการให้คนผลิตเครื่องปั้นดินเผามีงานทำและมีรายได้ ถ้วยดินเผาใช้ครั้งเดียวทิ้งจะได้ขายถ้วยได้ทุกวัน การดื่มชาของคนอินเดียกลายเป็นวัฒธรรมไปแล้วโดยได้รับถ่ายทอดมาจากคนอังกฤษ ซึ่งอินเดียเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาร่วมสองร้อยกว่าปี

    ชาอินเดีย คนอินเดียเรียกว่า จัย (Chai) หรือจ้า ซึ่งชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน โดยมีพ่อค้าจีน นำชาเดินทางมาขายตามเส้นทางสายไหม ผ่านประเทศต่างๆ ทั้งจีน มองโกเลีย ตะวันออกกลาง จนถึงตุรกี ซึ่งแต่ละประเทศที่ผ่านก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีพ่อค้าชาวโปรตุเกสได้ซื้อชากลับไปที่ประเทศ จึงถือว่าโปรตุเกสเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ได้ลิ้มรสชาจีน ต่อมาชาก็ได้เริ่มแผ่กระจายเข้าไปในยุโรป โดยเป็นที่ชื่นชอบสำหรับชาวฮอลแลนด์เป็นอย่างมากถึงขนาดเหมาเรือสำเภาไปซื้อชาจากจีนกันเลยทีเดียว 

    พอมาถึงประเทศฮอลแลนด์ (ปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์) ชาจีนก็เปลี่ยนไป โดยชาวฮอลแลนด์ได้ใส่นมเข้าไปในชา ทำให้ชามีรสชาดอร่อยและชื่นชอบมากยิ่งขึ้น แต่ชา ยังเป็นเครื่องดืมที่มีราคาแพงเพราะต้องนำเข้ามาจากประเทศจีน จึงทำให้ชาใส่นมเป็นที่นิยมในราชวงศ์และสังคมชั้นสูงเท่านั้น เช่นในราชวงศ์ของชาวยุโรป ทั้งฝรั่งเศส เยอรมันนี ออสเตรียและ อังกฤษ เมื่อชามาถึงอังกฤษ รสชาดของชาก็ได้เปลี่ยนไปอีกครั้ง เพราะชาวอังกฤษได้เติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไปในชา ทำให้เกิดความหวาน กลมกล่อมมากยิ่งขึ้น ทำให้ความต้องการชาจากประเทศจีน ยิ่งมีมากยิ่งขี้นไปอีก

    ในช่วงต้นที่อังกฤษได้ครอบครองอินเดียเป็นเมืองขึ้น ความต้องการชาในประเทศอังกฤษสูงขึ้นมาก ทำให้ราชวงศ์ของอังกฤษคิดอยากที่จะทำให้ชามีราคาถูกลง จึงต้องการที่จะซื้อชาโดยตรงจากประเทศจีน แต่ทางฝั่งประเทศฮอลแลนด์ ไม่ยอมเนื่องจากเป็นผู้ซื้อชารายใหญ่จากจีน

    ในสมัยนั้นอินเดียเป็นเมืองในการปกครองของประเทศอังกฤษ อังกฤษจึงเปิดบริษัทค้าขายในประเทศอินเดีย หนึ่งในสินค้าที่ทำการค้าคือ ชา นั่นเอง แต่ถึงกระนั้น ชาก็ยังคงมีราคาที่แพงอยู่ ทางอังกฤษจึงพยายามที่จะหาวิธีที่ทำให้ชาราคาถูก โดยพยายามหาค้นหาพื้นที่ในประเทศอินเดียที่สามารถปลูกชาได้ ในที่สุดก็ไปเจอพื้นที่ปลูกชาที่รัฐอัสสัม แต่พบว่าคนอัสสัมไม่ดื่มชา แต่ใช้ชาเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเหมือนเป็นผักชนิดหนึ่งเท่านั้น ชาวอังกฤษจึงสงสัยว่า แล้วถ้าเอาชาจีน มาปลูกที่อินเดีย จะได้รสชาดเหมือนเดิมหรือเปล่า จึงนำเอาชาจีน มาปลูกที่อัสสัม และเปรียบเทียบรสชาดกับชาอัสสัม ปรากฏว่าชาอัสสัม มีกลิ่นหอม รสชาดอร่อยกว่าและเหมาะกับการนำมาดื่มเป็นกิจวัตรมากกว่าชาจีน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าชาอัสสัม เป็นชาที่ดีที่สุดในโลก

    หลังจากนั้น คนอังกฤษก็มาลงทุนในไร่ชาที่ Darjeeling (ดาร์จิลิ่ง)ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่บนแนวสันเขาที่ความสูง 2,134 เมตร จากระดับน้ำทะเล รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “ ราชินีแห่งขุนเขา ” เป็นเมืองรีสอร์ตที่มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี และไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของเมือง ก็สามารถมองเห็นเทือกหิมาลัยทอดตัวยาวรอบเมือง โดยเฉพาะยอดกันเช็งจุงก้าที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะขาวตลอดทั้งปี ปัจจุบัน ดาร์จิลิ่งยังคงเป็นแหล่งปลูกและผลิตชาที่ดีที่สุดในโลก และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า ในทำการค้าขายกับทิเบต

    ในช่วงที่อังกฤษบุกเบิกการปลูกชาในรัฐอัสสัม ชาก็ยังคงนิยมเฉพาะในราชวงศ์ หรือกลุ่มชนชั้นสูงอยู่ ยังไม่มีการแพร่หลายออกไป แต่เมื่อมีการปลูกชาเองและผลผลิตออกมามาก ชาวอังกฤษจึงคิดหาวิธีการกระจายชาให้เป็นที่นิยมในประเทศอินเดีย ซึ่งรัฐอัสสัมจะมีเส้นทางรถไฟไปยังท่าเรือ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งประเทศอินเดีย พ่อค้าอังกฤษจึงคิดที่จะตั้งร้านขายชาตามสถานีรถไฟ เพื่อให้ชาวอินเดียได้ลิ้มลอง และได้สอนวิธีการชงชา การดื่มชาใส่นม พอคนอินเดียได้ลิ้มลองก็ติดใจ พูดกันปากต่อปากกันแพร่หลาย ทำให้ชาอัสสัมเป็นที่รู้จัก พ่อค้าชาวอังกฤษจึงเริ่มบรรจุชาเป็นซอง เป็นกล่อง วางขายทั่วประเทศอินเดีย ทั้งป่าวประกาศทำโปสเตอร์ทำการตลาดให้ชาเป็นที่แพร่หลายในประเทศอินเดีย จนในที่สุดได้กลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มชาของประเทศอินเดีย ซึ่งไม่เหมือนกับ Tea time ของประเทศอังกฤษคือคนอินเดียสามารถดื่มชาได้ทั้งวัน ไม่จำเป็นต้องเป็นช่วง tea time เท่านั้น มีวลีที่พูดว่า India run on tea แปลความหมายว่าประเทศอินเดียดำเนินอยู่ได้ด้วยชา
    ปัจจุบัน ชาชื่อดังติดอันดับของอินเดียที่คอชาทั่วโลกนิยม มีอยู่สามชนิด คือชาอัสสัม (Assam) ชาดาร์จิลิ่ง (Darjeeling) และชานิลคีรี (Nilgiri) หลังจากชา แพร่หลายในประเทศอินเดีย ก็มีคนคิดค้นรสชาดใหม่โดยการเติมเครื่องเทศเข้าไปในชา เพื่อให้ชามีประโยชน์มากขึ้น


ข้อมูล: FB KC Maharajah https://www.facebook.com/kc.maharajah

plan เที่ยวรัสเซีย

โจรล้วงกระเป๋า แห่งเมืองเซ้นปีเตอร์เบริก์ รัสเซีย

วิธีจองตั๋วออนไลน์ วังแคทเธอรีน รัสเซีย





เรื่องกำลังดัง